ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

คำถามทบทวน บทที่ 3 กระบวนการสื่อสาร

ข้อที่ 1 การสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ ....การสื่อสาร หมายถึง เมื่อเราถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้ ความรู้สึกนึกคิดหรือความต้องการซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในออกไปสู่คนอื่น คนคนนั้นจะมีส่วนร่วมรับรู้ความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิดหรือความต้องการขอเราได้ แต่จะสามารถรับรู้ได้ในระดับคล้ายคลึงเท่านั้น



ข้อที่ 2 องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสาร ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารนั้นมี 4 ประการ เพราะถ้าหากขาดองค์ประกอบประการใดประการหนึ่งไป การสื่อสารก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย องค์ประกอบทั้งหมด 4 ประการ มีรายละเอียดดังนี้
1. ผู้ส่งสาร ( Sender ) หมายถึง บุคคล หรือหน่วยงานที่เป็นผู้สร้างสาร หรือ แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลอื่น หรือไปยังหน่วยงานอื่นด้วยวิธีใดวิธีการหนึ่ง หรือ อาจหลายวิธี เช่น การพูด การเขียน การแสดงท่าทาง เป็นต้น ผู้ส่งสารจึงถือเป็นองค์ประกอบประการแรก ที่ทำให้กระบวนการสื่อสารเกิดขึ้น เพราะเป็นผู้เริ่มต้นการสื่อสารนั่นเอง ดังนั้นผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียว กลุ่มบุคคล หน่วยงาน หรือสถาบันองค์กรก็ได้ผู้ส่งสารควรตระหนักอยู่เสมอก็คือ จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจในสารที่จะสื่อออกไปนั้นอย่างแจ่มชัด มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เข้าใจถึงความสามารถและความพร้อมในการรับสารของผู้ที่ตนจะสื่อสารด้วย รวมทั้งเลือกใช้วิธีการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้การสื่อสารครั้งนั้นๆบรรลุเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
2. สาร ( Message ) หมายถึง เรื่องราวหรือสิ่งต่างๆที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความรู้สึก ฯลฯ ที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปให้ผู้อื่นได้รับ และเกิดการตอบสนอง สารประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ
2.1รหัสของสาร ได้แก่ภาพ สัญลักษณ์ หรือสัญญาณต่าง ๆ ที่มนุษย์ใช้แสดงออกแทนความคิด หรือความรู้สึกต่างๆ ดังนั้น สารจึงจำแนกได้2 ลักษณะ คือ 1) รหัสของสารที่เป็นถ้อยคำ ( วัจนภาษา ) ได้แก่ ภาษาพูด และภาษาเขียน
2) รหัสของสารที่ไม่เป็นถ้อยคำ ( อวัจนภาษา ) ได้แก่ กิริยาท่าทาง สัญลักษณ์ และสัญญาณต่างๆ
2.2เนื้อหาของสาร ได้แก่ มวลความคิด และประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะ ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกัน เนื้อหาของสารจะแฝงไปกับรหัสของสาร เมื่อผู้รับสารสามารถ ถอดรหัสของสารได้ ก็แสดงว่าเข้าใจเนื้อหาของสารนั้นแล้ว เราแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) เนื้อหาของสารที่เป็นข้อเท็จจริง เป็นองค์ความรู้ หลักเกณฑ์ หรือข้อสรุปที่ผ่านการพิสูจน์มาแล้ว มีเหตุผลยอมรับได้ว่าเป็นความจริง สามารถอ้างอิงได้
2) เนื้อหาของสารที่เป็นข้อคิดเห็น คือ ความรู้สึกหรือความคิดส่วนตัวของผู้ส่งสาร โดยอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้
2.3 การจัดสาร ได้แก่ การนำเนื้อหาของสารมาเรียบเรียงอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ต้องการ ด้วยการเลือกใช้รหัสของสารที่เหมาะสม เช่น การเลือกใช้คำ การใช้ท่าทางประกอบ การจัดลำดับความ การอธิบาย เป็นต้น สารที่ได้รับการจัดอย่างดี จะทำให้สารมี จะทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ส่งสารต้องการ
3. สื่อและช่องทาง ( Medium and Channel ) คือ สิ่งที่เป็นตัวกลางทำให้สารเคลื่อนตัวออกไปจากผู้ส่งสาร มีทั้งสื่อที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ คลื่นแสง คลื่นเสียง และสื่อที่มนุษย์ทำขึ้นหรือผลิตขึ้น เช่น โทรศัพท์ หนังสือ นิตยสาร แถบบันทึกเสียง โดยสารจะถูกถ่ายทอดเข้าสู่ระบบการรับรู้ของมนุษย์ เช่น อวัยวะ หรือประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ของมนุษย์ ซึ่งก็เป็นช่องทางของผู้ส่งสารผ่านช่องทางของสารไปสู่ผู้รับสาร
4. ผู้รับสาร ( Receiver ) หมายถึง จุดหมายปลายทางที่สารจะส่งไปถึง ผู้รับสารอาจเป็นบุคคลเดียว หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ถ้าหากผู้รับสารตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้ส่งสาร ก็แสดงว่าผู้รับสารเข้าใจความหมายของสารที่ส่งมา ผู้รับสารจึงมีหน้าที่แปลความหมายของสารส่งสารต่อไปยังผู้รับสารคนอื่นๆตามที่ผู้ส่งสารกำหนดจุดมุ่งหมายไว้

ข้อที่ 3 จงยกตัวอย่างการสื่อสารทางตรงทางอ้อม ทางเดียว และสองทาง
ตอบ 1 การสื่อสารทางตรง ผู้ส่งและผู้รับสื่อสารซึ่งกันและกันโดยตรง เนื้อหาสาระสอดคล้องกันอย่างตรงไปตรงมา เช่น การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าในตลาด
2 การสื่อสารทางอ้อม เป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ เช่น การโฆษณาทางโปสเตอร์
3 การสื่อสารทางเดียว ผู้ส่งกระทำฝ่ายเดียว ผู้รับไม่สามารถตอบสนองทันทีได้ เช่น การจัดรายการวิทยุ รายการโทรทัศน์
4 การสื่อสารสองทาง ผู้ส่งและผู้รับมีการตอบโต้กันโดยอาจอยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือถ้าห่างกันจะใช้เครื่องมือสื่อสารช่วยได้ เช่นโทรศัพท์ วิทยุมือถือ

ข้อที่ 4 จงกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการสื่อสาร
ตอบ 1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถและความตั้งใจในการเข้ารหัส ทำให้การสื่อสารผิดพลาด
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมกับเนื้อหาสาระ ทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อสารลดลง
3. ผู้รับสารขาดความรู้ความชำนาญในเนื้อหาสาระ
4. อุปสรรคจากสิ่งรบกวน- สิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงที่ดังรบกวน อากาศร้อน แสงแดด กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์- สิ่งรบกวนภายใน เช่น อารมณ์ขุ่นมัว ความเครียด ความวิตกกังวล การมีอคติทั้งผู้ส่งและผู้รับ
5. สารหรือเนื้อหาสาระมีความยาวไม่เหมาะสมหรือสั้นเกินไป เนื้อหาขัดกับความเชื่อเดิม
6. ผู้ส่งและผู้รับมีความแตกต่างในด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคมการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง เกิดจากการสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า เป็นการสื่อสารแบบสองทาง ผู้ส่งและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เนื้อหาสาระต้องเหมาะสมกับผู้รับการสื่อสารกับการรับรู้และเรียนรู้การรับรู้ เป็นกระบวนการตีความหรือแปลความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย จากนั้นส่งไปยังสมอง สมองเป็นคลังข้อมูลขนาดมหาศาล เมื่อสมองตีความได้ก็จะนำข้อมูลไปเก็บในคลังสมอง ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร เรียกว่า การเรียนรู้

ข้อที่ 5 จงกล่าวถึงวิธีการที่จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพสูง
ตอบ 1. การสื่อสารโดยตรงแบบเผชิญหน้า
2. การสื่อสารสองทาง
3. การสื่อสารโดยช่องทางและสื่อที่หลากหลาย
4. ผู้รับสามารถรับสารได้ปริมาณมากพอ
5. ผู้รับมีความแม่นยำเที่ยงตรงสูง
6. หลีกเลี่ยงอุปสรรคในการสื่อสารดังกล่าวข้างต้น

ข้อที่ 6 จงกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้และการเรียนรู้

ตอบ ..."การรับรู้" เป็นกระบวนการแปลความหรือตีความต่อสิ่งเร้าที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัส ซึ่งเป็นขั้นการรับข้อมูลข่าวสารในระยะแรก แล้วนำเข้าสู่สมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองซึ่งทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลมหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นดดยอาศัยการเปรียบเทียบกับข้อมูลเก่าที่เคยสะสมไว้ก่อนในรูปของความจำหรือประสบการณ์เดิม เมื่อตีความได้แล้วสิ่งเร้านั้นก็จะถูกนำไปเก็บรวบรวมไว้ในคลังสมองเป็ยวัฐจักรต่อไป ประสบการณ์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้มโนภาพ ความคิดรวบยอด เจตคติ ซึ่งมีผลต่อการคิดและตัดสินใจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเรียกว่า การเรียนรู้ (Learning)

ข้อที่ 7 จงยกตัวอย่างแบบจำลองการสื่อสารทางการศึกษาที่สอดคล้องกับองค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารทั่วไป
ตอบ
ข้อที่ 8 การสื่อสารในบุคคลหมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไร
ตอบ การสื่อสารภายในบุคคล หรือ การสื่อสารกับตนเอง (Intrapersonal Communication) เป็นกิจกรรมทางการสื่อสารอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการสื่อสารกับตัวเอง กล่าวอย่างสั้นๆ เมื่อคนคิดหรือพูดกับตัวเอง การที่คนพูดกับคนอื่นอย่างไรคนก็อาจพูดกับตัวเองได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างของการสื่อสารกับตัวเองก็คือการที่เราหยุดหรือการยับยั้งการกระทำหรือหยุดความคิดบางอย่าง การวิเคราะห์ตัวเอง การวางแผน การคิดเลือกการกระทำที่มีอยู่หลายทางเลือก การเตือนตนเองและการคิดริเริ่มงานบางอย่าง ในแต่ละวันที่คนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสื่อสารรอบๆตัวเอง ในสถานที่ต่างๆ กิจกรรมและการสื่อสารนั้นๆ ก็จะวนเวียนอยู่ในความคิดของคนเรา เมื่อกลับไปที่บ้านของเรา เป็นต้น การที่มีการสื่อสารกับตนเองไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะตัวเองก็มีความคิดมีอารมณ์ที่จะแสดงออกได้ ตามความเป็นจริงนั้นการสื่อสารกับตัวเองจะเกิดขึ้นก่อนการสื่อสาร ในประเภทอื่นๆ
ประกอบด้วย : บุคคล,ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้านอกตน,ตัวชี้นำหรือสิ่งเร้าในตน,การใส่รหัส,การถอดรหัส

ข้อที่ 9 จงอธิบายกระบวนการและลักษณะสื่อสารในการเรียนการสอน
ตอบ กระบวนการสื่อสารในการเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการเรียนการสอน เป็นรูปแบบของการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนหรือสื่ออื่นๆ กับผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในห้องเรียน นอกห้องเรียน กิจกรรมการละเล่น การศึกาค้นคว้า ย่อมมีจุดมุ่งหมายให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน กระบวนการเรียนการสอนกับกระบวนการสื่อสารมีจุดประสงค์และกระบวนการเหมือนกัน มีองค์ประกอบดังนี้
1. ครู
2. เนื้อหาบทเรียน
3. สื่อหรือวิธีการ
4. นักเรียนหรือผู้เรียน
5. การประเมินผล
ลักษณะการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน
1. เป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ตลอดจนการอบรม สั่งสอน อาจเป็นสื่อสารแบบทางเดียวหรือสองทางได้
2. การมอบหมายสั่งงานหลังจากให้ความรู้
3. การให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาต่างๆ
4. การวิจารณ์หรือการติชมงานเพื่อการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
5. การสนทนาโต้ตอบตามปกติซึ่งเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ

ข้อที่ 10 ในการเรียนการสอนควรใช้การสื่อสารอย่างไรจึงจะพอดี
ตอบ 1. ครูผู้สอนควรใช้สื่อสองทางให้มากที่สุดเท่าที่จำทำได้
2. ในกระบวนการเรียนการสอนครูผู้สอนควรใช้สื่อการสอนและสื่อการเรียนหลายๆชนิด หรือที่เรียกว่า สื่อประสม
3. กระบวนการเรียนการสอนที่ดีควรให้ผู้เรียนมีประสบการณ์หลายด้านด้วย
4. ครูผู้สอนควรมีทักษะในการสื่อสารหรือการถ่ายทอดความรู้หลายด้าน
5. อุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารในกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ สิ่งรบกวนต่างๆ ครูผู้สอนควรป้องกันหรือขจัดปัญหาเกี่วกับสิ่งรบกวนให้หมดสิ้นหรือเหลือน้อยที่สุด
6. ผู้เรียนควรเพิ่มประสิทธิภาพในการรับรู้และเรียนรู้

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม